ประวัติสมาคมเจ้าของเรือไทย |
|
สืบเนื่องจากการประชุมคณะผู้แทนจากกลุ่มประเทศอาเซียน ได้แก่
อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์และไทย
(ลำดับตามตัวอักษรโรมัน) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
เมื่อเดือนกรกฎาคม 2517
ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาถึงความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนของประเทศสมาชิกด้วยกันในภูมิภาคที่จะ
มีบทบาทที่สำคัญต่อความสำเร็จตามเป้าหมาย
และหนึ่งในความร่วมมือของภาคเอกชน คือ โครงการจัดตั้ง สหพันธ์ สมาคม
เจ้าของเรืออาเซียนเพื่อจรรโลงธุรกิจขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศ
โดยมีจุดประสงค์ว่า ประเทศที่มีจำนวนตันเนทมาก
จะเข้ามาช่วยรับขนส่งสินค้าให้กับประเทศที่มีตันเนทน้อยหรือไม่เพียงพอ
และที่ประชุมมีมติกำหนดระยะเวลาการจัดตั้งสหพันธ์
ให้แล้วเสร็จก่อนการประชุมครั้งต่อไป ต่อมาบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ในฐานะรัฐวิสาหกิจ ภายใต้การดูแลของกระทรวงคมนาคม และยังเป็นบริษัทเรือไทยที่มีจำนวนเรือมากที่สุดในขณะนั้น ได้รับนโยบายให้เป็นแกนกลางในการจัดตั้งสมาคมเจ้าของเรือไทย ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน ซึ่งในขณะนั้นไทยยังไม่มีการจัดตั้งสมาคมเจ้าของเรือไทย มีเพียงสมาคมเจ้าของและตัวแทนเรือกรุงเทพ (BSAA) เท่านั้น พลเรือตรีบรรพต สุดแสวง กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด จึงได้เชิญบริษัทที่มีเรือของตนเอง ได้แก่ บริษัท ไทยพาณิชย์นาวี จำกัด บริษัท ไทยวิสาหกิจสากลการเดินเรือ จำกัด ซึ่งทั้งสามบริษัทนี้เป็นสมาชิกชมรม ญี่ปุ่น-ไทย และชมรมเรือไทย-ญี่ปุ่น มีการรวมตัวกันอยู่แล้วอย่างหลวม ๆ และเชิญบริษัทโหงวฮก เอเยนซี่ จำกัด ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียงตัวแทนเรือไม่มีเรือของตนเอง มาประชุมปรึกษาหารือเพื่อจัดตั้งสมาคมฯ แต่เนื่องจากในขณะนั้น นโยบายการพัฒนาพาณิชย์นาวีของไทย ยังไม่เป็นที่น่าสนใจของภาครัฐการดูแลการพัฒานากิจการพาณิชย์นาวี จึงเป็นงานริเริ่มอยู่ในความดูแลของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ มีพลเรือเอกจิตต์ สังขดุลย์(ในขณะนั้นดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม และประธานกรรมการบริษัทไทยเรือเดินทะเลจำกัด)เป็นประธานอนุกรรมการ ผู้แทนกองทัพเรือ ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนผู้แทนกระทรวงคมนาคม ผู้แทนกระทรวงต่างประเทศ ผู้แทนบริษัทไทยเดินเรือทะเล จำกัด ผู้แทนบริษัท ไทยวิสาหกิจสากลการเดินเรือ จำกัด ผู้แทนบริษัท ไทยพาณิชญ์นาวี จำกัดฯลฯ และผู้แทน สคช. เป็นเลขานุการประชุมจัดตั้งสมาคมเจ้าของเรือไทย ได้มีการประสานงานจากภาครัฐ ภาคเอกชน และจากต่างประเทศประกอบด้วย ภาครัฐบาล
รัฐวิสาหกิจ
ภาคเอกชน
การประชุมได้ใช้ห้องประชุมกองเศรษฐกิจ ชั้น 3 สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีการประชุม 2-3 ครั้ง ส่วนมากเป็นการพิจารณา ข้อบังคับการจัดตั้งสมาคมเจ้าของเรือ จากประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศในกลุ่มอาเซียน ข้อบังคับของ BSAA ฯลฯ โดยพิจารณาว่ามีอะไรบ้างที่ขัดต่อกฎหมายประมวลแพ่งและพาณิชย์ของไทยหรือไม่ ซึ่งได้รับข้อเสนอแนะจากนายรวิ และ นายกมล ช่วยร่างข้อบังคับเป็นภาษาไทย และต่อมาเป็นข้อบังคับฉบับแรกของสมาคมเจ้าของเรือไทย สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ในที่สุด ก็มีการก่อตั้งสมาคมเจ้าของเรือไทยขึ้น และจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสมาคมการค้าเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม2518 โดยจดทะเบียนและตั้งสำนักงานครั้งแรกที่ชั้น 3 สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เลขที่ 5 ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ มีผู้จดทะเบียนก่อตั้ง 3 นาย ได้แก่
และหลังจากนั้นได้มีการประชุมสมาชิก และเลือกตั้งให้ พลเรือตรีบรรพต สุดแสวง เป็นประธาน สมาคมฯ คนแรก ต่อมาเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2518 คณะผู้แทนจากประเทศไทย ก็ได้เดินทางไปเปิดตัวอย่างเป็นทางการและแนะนำผู้แทนสมาคมต่อผู้นำของประเทศอินโดนีเซีย และสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ โดยรวมภาครัฐและเอกชน และถือโอกาสเยี่ยมชมกิจการพาณิชย์นาวีของทั้งสองประเทศ วัตถุประสงค์ในการเดินเรือครั้งนี้
คณะผู้แทนประกอบด้วย ประวัติเหตุการณสำคัญที่ควรทราบเกี่ยวกับสมาคมฯ ประธานสมาคม ฯ ตั้งแต่ท่านแรกจนถึงปัจจุบัน
|
|
TSA Maritime Directory 2004 |